pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

           วันที่ 16 สิงหาคม 2564 สำนักงานชลประทานที่ 2 ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference จากห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ มีผู้อำนวยการส่วนเครื่องจักรกล หัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 2 ชั้น 4 จังหวัดลำปาง โดยนายเกรียงกฤษณ์ แสนปัญญา หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ ส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา ได้รายงานสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในเขตสำนักงานชลประทานที่ 2 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีปริมาณฝนตกปานกลางถึงหนักกระจายในพื้นที่ 4 จังหวัด ปริมาณฝนตกสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน ปริมาณฝนสะสมยังคงน้อยกว่าฝนค่าเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 17 % ส่วนปริมาณฝนสะสมในพื้นที่ จังหวัดพะเยา เทียบกับค่าเฉลี่ยยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 4 % สำปรับปริมาณน้ำท่าในแม่น้ำน่าน แม่น้ำลาว แม่น้ำอิง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย มีแนวโน้มลดลง ส่วนในแม่น้ำวัง ที่สถานี W1C อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้ง 2 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 81.64 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49.53 เมื่อเทียบกับปี 2563 ยังคงน้อยกว่าปี 2563 อยู่ประมาณ 29 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณ inflow ที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกิ่วลม - กิ่วคอหมา ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 11.2 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 7.53 ล้านลูกบาศก์เมตร ในสัปดาห์หน้าคาดการณ์ไว้ว่าจะมีปริมาณ inflow ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 2 แห่ง อีกประมาณ 7.1 ล้านลูกบาศก์เมตร

          สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง อยู่ในเกณฑ์น้ำดีมากจำนวน 2 แห่ง น้ำดีจำนวน 8 แห่ง น้ำพอใช้จำนวน 13 แห่ง และน้ำน้อยรวม 20 แห่ง ส่วนผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปัจจุบันเพาะปลูกไปแล้ว 678,677 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.6 พื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานอุทกภัยพื้นที่ในเขตรวมทั้งสิ้น 4 แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดเชียงรายทั้งหมด ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง ในช่วงวันที่ 11 และช่วงวันที่ 14 ในเขตอำเภอเวียงแก่น และอำเภอเชียงของ ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย และเตรียมความพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้ความช่วยเหลือ

160864 2

2

3

4

5

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2595690
วันนี้68
สัปดาห์นี้5056
เดือนนี้35256
รวมทั้งหมด2595690
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560