pr.gif สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน

ได้ ยกเลิก ปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์นี้แล้ว

โดยท่านสามารถเข้าใช้ เว็บไซต์ใหม่ ได้ที่ rio2.rid.go.th ขอบคุณครับ

          วันที่ 23 ธันวาคม 2563 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อติดตามและขับเคลื่อนแผนงานแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในภาพรวมของจังหวัดและแนวทางการพัฒนาพื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เวียงหนองหล่ม มี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 นายทวีชัย โค้วตระกูล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย พร้อมด้วยหัวหน้าฝ่าย ตลอดจนผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ ณ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเวียงหนองหล่ม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

          เวียงหนองหล่ม เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ครอบคลุม 2 อำเภอ 4 ตำบล พื้นที่ประมาณ 14,000 ไร่ พื้นที่รับน้ำฝน 187 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 72 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ปัจจุบันมีความจุเก็บกักประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีสภาพปัญหา คือ การบุกรุกที่ดินทำกินพื้นที่เวียงหนองหล่ม แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ที่ 1 เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จำนวน 16 แปลง เนื้อที่ประมาณ 6,666-2-90 ไร่ และไม่มีหนังสือสัญญาสำหรับที่หลวง เนื้อที่ประมาณ 1,000-0-00 ไร่ พื้นที่ที่ 2 เป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 192 แปลง แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 124 แปลง เนื้อที่ประมาณ 3,563-2-68 ไร่ (เพิกถอนแล้ว 24 อยู่ระหว่างเพิกถอน 100 แปลง) กลุ่มที่ 2 จำนวน 68 แปลง เนื้อที่ประมาณ 2,364-0-07 ไร่ พื้นที่ที่ 3 เป็นพื้นที่ร้องเรียน เป็นพื้นที่ชาวบ้านเข้าทำประโยชน์เป็นที่นา 32 ราย เนื้อที่ประมาณ 276-3-00 ไร่

          สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเวียงหนองหล่ม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำโดยการขุดลอกตะกอนดิน พื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ ปริมาณดินขุด 12 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบ ดำเนินการปรับปรุง/ก่อสร้างถนนสายหลังและสายรองบริเวณรอบเวียงหนองหล่ม พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต่อมา ระยะที่ 2 หลังจากแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินรวมประมาณ 6,000 ไร่ จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ พื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ ปริมาณดินขุด 12 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกันออกจากพื้นที่โบราณสถานพร้อมอาคารประกอบบริเวณรอบหนองน้ำ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำได้ทั้งหมดประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรมากกว่า 25,000 ไร่ โดยปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 8,600 ไร่ อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารชุมชน จำนวน 4 ตำบล 2 อำเภอ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดได้เป็นอย่างดีในอนาคตต่อไป

231263 4

2

3

4

5

6

7

8

9

9

12

13

17

16

20

21

เข้าระบบสมาชิก

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ สชป.2
2629353
วันนี้2338
สัปดาห์นี้5718
เดือนนี้28082
รวมทั้งหมด2629353
เริ่มนับเมื่อ 18/05/2560